7ec548f407af60a958d96d4ab3268678ee28d4307af1c524b7c5d97478b3ef87 9a8313abc5045947249e16aa7799b105d3968865e58b7523f8fd3cab6a40c845 9b7978b8f9a44d28fd3024fe2a4eb02c03f5466a9f747b68e9b615995255e51e 17cb8ab8311e3c0d10c6d062c045a8ef18ba17a7729b8a8905b3ddb6d4885a58 1754df767af595df362ec026684c97d5ecd2a151f85bc1b0031ab0de6fc66e34 e163777af587570a5356dcf09f86d848b4512d1584af1a7de7bd62822a65611e ea157d772f001a2f81a5afb5425b3049a9da29e781860b53d53d92583ca0b0e0 jquery lightbox autoplayby VisualLightBox.com v6.1
สถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เริ่ม 1 กรกฏาคม 2560
ข้าวเม่าทอด วัดหาดมูลกระบือ
งานแข่งขันเรือยาวประเพณีที่อยู่ควบคู่กับวิถีชีวิตและสังคมไทยในช่วงฤดูน้ำหลากคงเป็นภาพที่คุ้นตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยวรวมถึงของกินอร่อยที่มาคู่กับงานแข่งเรือในแถบภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน นั่นคือข้าวเม่าพอก และที่ขึ้นชื่อคงต้องยกให้ข้าวเม่าพอกเงินล้านของวัดหาดมูลกระบือแห่งเมืองชาละวัน แต่กว่าจะได้มาเป็นของอร่อยที่เป็นของกินของฝากนั้น วันนี้จะพาไปดูเบื้องหลังของความอร่อยพระมหาเมธี จันทะวังโส เจ้าอาวาสวัดหาดมูลกระบือ หมู่ที่ 2 ตำบลย่านยาว อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งวัดแห่งนี้มีฝูงลิงป่าอาศัยอยู่นับร้อยตัว สำหรับเรื่องข้าวเม่าพอก พระมหาเมธี เล่าให้ฟังถึงประวัติของการทอดข้าวเม่าว่า ในอดีตย้อนหลังไปเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา ตามวัดต่างๆที่อยู่ริมแม่น้ำน่าน-แม่น้ำยม ในเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดข้างเคียงก็จะมีประเพณีแข่งขันเรือยาวที่สืบเนื่องตำนานมาจากในอดีตตามวัดต่างๆจะมีท่าน้ำที่เทียบเรืออยู่หน้าวัด ผู้เฒ่า-ผู้แก่ นั่งเรือพายให้คนหนุ่มสาวพายเรือมาส่งเพื่อทำบุญที่วัด ในช่วงที่ผู้เฒ่า-ผู้แก่ อยู่บนศาลาวัด วัยรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งรออยู่ที่ท่าน้ำก็จะพายเรือแข่งกันเล่นและต่อมาจึงกลายเป็นประเพณีแข่งเรือตามวัดต่างๆในช่วงฤดูน้ำหลาก ชาวบ้านต่างก็มาเชียร์ฝีพายที่เป็นลูกหลานหรือคนในหมู่บ้าน ของกินสมัยนั้นที่อร่อยขึ้นชื่อก็คือ “ข้าวเม่าพอก” กรรมการวัดก็ทำแจกให้กับผู้ที่มาร่วมงานบุญแข่งเรือ ต่อมาก็ขายแพละ 1 บาท จนถึงทุกวันนี้ขายแพละ 30 บาท ส่วนประกอบของข้าวเม่าพอกก็คือ กล้วยไข่ ข้าวเม่าที่ทำมาจากข้าวเหนียวซึ่งอยู่ในช่วงตั้งท้องเมล็ดข้าวเป็นน้ำนม แล้วนำมาใส่กระทะคั่ว เอาไปตำจะได้เป็น
เมล็ดข้าวเม่า จากนั้นก็นำไปผสมกับเครื่องปรุงที่ประกอบด้วยมะพร้าวขูด น้ำตาลปี๊บ แล้วนำมาพอกกับกล้วยไข่ลงกระทะทอดที่มีแป้งทอดกรอบโรยหน้า เพียงเท่านี้ก็กลายเป็นข้าวเม่าพอก ของอร่อยที่เป็นของกิน ของฝาก จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มาควบคู่กับงานแข่งขันเรือยาวตามวัดต่างๆ

โดยในวันนี้ ส.อ.สะท้าน อิ่มอยู่ นายก อบต.ย่านยาว “นายก ขม” ซึ่งเป็นผู้นำชุมชน พร้อมด้วย พ.ต.อ.กฤษฎา ภัทรประสิทธิ์ “ผู้กำกับกบ” ได้พาไปดูเบื้องหลังที่กว่าจะมาเป็นข้าวเม่าพอกเงินล้านของวัดหาดมูลกระบือ ภาพที่เห็นคือชาวบ้านและพระสงฆ์เกือบ 100 คนที่รวมตัวกันช่วยกันคั่วเมล็ดข้าวเหนียวที่อยู่ในช่วงตั้งท้องเป็นน้ำนมเพื่อนำไปทำข้าวเม่าพอก บรรยากาศของความสามัคคีของชาวบ้านที่มีวัดเป็นศูนย์กลางทำแบบนี้กันมาอย่างต่อเนื่อง
ทุกคนมาทำด้วยใจ ใช้แรงกายร่วมทำบุญ แม้แต่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ก็ออกมาร่วมด้วยช่วยกัน ถึงแม้อาจมองว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ แต่เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ทุกคนจึงไม่นิ่งดูดาย เดิมทีเดียวข้าวเม่าพอกของวัดหาดมูลกระบือขายอยู่แค่เพียงภายในงานแข่งเรือของวัดเท่านั้น แต่ภาพของความสามัคคีบวกกับรสชาติความอร่อยที่ 1 ปี จะได้กิน 1 ครั้ง ก็เฉพาะภายในงานแข่งเรือ ต่อมาวัดต่างๆที่จัดงานแข่งเรือ ยกตัวอย่างเช่น วัดท่าหลวง พระอารามหลวง , วัดบึงตะโกน , วัดหัวดง ฯลฯ จึงได้เชิญชาวบ้านของ ต.ย่านยาว ให้มาทอดข้าวเม่าขาย หารายได้หาเงินเข้าวัด ปรากฏว่าขายดีเป็นเทน้ำเทท่า กลายเป็นของกิน ของฝาก ควบคู่กับงานแข่งเรือ พระมหาเมธี จันทะวังโส เจ้าอาวาสวัดหาดมูลกระบือ เปิดเผยว่า ในปีนี้ไปขายมาแล้ว 4 แห่ง ยอดขายทะลุ
หลักล้านบาทไปแล้วล่าสุดในวันที่ 21-22 ก.ย. 2562 จะมีงานแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร พระพุทธชินราช พิษณุโลก ( วัดใหญ่พิษณุโลก ) จึงต้องมีการเตรียมการตำข้าวเม่าเพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของการทำข้าวเม่าพอกขาย ดังนั้นหากท่านใดมีโอกาสไปเที่ยวงานแข่งเรือที่วัดใหญ่พิษณุโลก อย่าลืมไปชิม ไปช้อป ไปอุดหนุน ข้าวเม่าพอกเงินล้านของวัดหาดมูลกระบือด้วยนะครับ เงินรายได้ก็จะนำมาใช้ในการบูรณะวัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป