สถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เริ่ม 1 กรกฏาคม 2560
อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล
แยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้ง อบต. และอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายเลือกตั้ง อบต.

   
อบต. มีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม    
กิจการสาธารณที่ อบต. มีอํานาจหน้าที่จัดทําสามารถจําแนกได้ 2 ประเภทคือ    
1) กิจการที่ อบต. มีหน้าที่ต้องทําในเขต อบต. ดังนี้    
- จัดให้มีการบํารุงรักษาทางน้ำและทางบก
- รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
- ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
- ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- คุ้มครองดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจําเป็นและสําคัญ
   
2) กิจการที่ อบต. อาจจัดทําในเขต อบต. ดังนี้
-ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
- ให้มีการบํารุงรักษาการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ำ
- ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
- ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
- บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
- การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
- กิจการเกี่ยวกับการพานิชย์
- การท่องเที่ยว
- การผังเมือง
อํานาจหน้าที่ อบต. ดังกล่าวข้างต้น ไม่ตัดอํานาจของกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือหน่วยงานของรัฐในการเข้าไปดําเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในตําบล แต่จะต้องแจ้งให้ อบต.ทราบล่วงหน้า และนําความเห็นของ อบต. เกี่ยวกับกิจการดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดําเนินงานด้วย