58. การเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินที่จัดเก็บได้จากค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ รายได้จากการจัดหาประโยชน์ทรัพย์สิน และจากการดำเนินกิจการอื่นโดยรวม ยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากน้ำมัน ยาสูบ และผู้เข้าพักในโรงแรม
  ตรวจสอบจำนวนเงินที่จัดเก็บได้จากรายรับจริงประกอบงบทดลองปีงบประมาณ 2561 และ 2562 แล้วนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
59. มีการออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติท้องถิ่น และได้จัดเก็บตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.2535
  มีการออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติท้องถิ่น และได้จัดเก็บตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.2535
60. การรายงานสถิติการคลังท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ภายในระยะเวลา ที่กำหนดสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
  ตรวจสอบจากวัน/เดือน/ปีที่ อปท.ได้รายงานข้อมูลสถิติการคลังปีงบประมาณ 2562 ผ่านระบบฐานข้อมูลกลาง อปท. (INFO) ซึ่งจะต้องรายงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ต.ค. 2562
61. การประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษี
  1. ให้ตรวจสอบจากการประชาสัมพันธ์ การจัดเก็บภาษีในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Line ฯลฯ เว็บไซต์ จดหมายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย/ หน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ และจดหมาย แจ้งผู้เสียภาษีโดยตรง เป็นต้น
2. มีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ ของ อปท. โดยให้ทีมประเมินฯ ตรวจสอบในเชิงประจักษ์ (เปิดดูจากเว็บไซต์จริงในวันตรวจประเมินฯ)
62. การจัดทำแผนที่แม่บทเพื่อจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  1. การจัดทำแผนที่แม่บทให้ตรวจสอบจากโครงการจัดทำแผนที่ภาษีฯ ของ อปท. โดย อปท. อาจจะจัดทำแผนที่แม่บทครอบคลุม ทั้งพื้นที่หรือเพียงบางส่วนของพื้นที่ก็ได้
2. กรณี อปท. ได้จัดทำด้วยระบบมือ และระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถือว่าได้คะแนนในข้อนี้
3. กรณี อปท. จัดทำด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LTAX GIS) ของ สถ. หรือด้วยโปรแกรมของหน่วยงานอื่น ให้ตรวจสอบการจัดทำแผนที่แม่บทในแต่ละขั้นตอนจากโปรแกรมฯ นั้นฯ ซึ่งจะต้องปรากฏข้อมูลแผนที่แม่บท ตามขั้นตอนที่ (1) – (4)
63. ผลการคัดลอกข้อมูลที่ดิน เพื่อจัดทำแผนที่แม่บทเพื่อจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  1. ในการคัดลอกข้อมูลที่ดิน อปท. จะต้อง ขอถ่ายเอกสารในสารบบที่ดิน (ทด.1 ทด.9 นส.5) หรือพิมพ์จากระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (LIS) ของ สำนักงาน ที่ดิน แล้วคัดลอกข้อมูลที่ดินลงในแบบสำรวจข้อมูลที่ดิน (ผ.ท.1) ทุกแปลง และกำหนดรหัสแปลงที่ดินตามแผนที่แม่บทที่ได้จัดทำเสร็จแล้ว
2. การตรวจสอบว่า อปท. มีจำนวนแปลงที่ดินจำนวนกี่แปลง โดยตรวจสอบจากแผนที่แม่บทตามโครงการจัดทำแผนที่ภาษีฯ ของแต่ละ อปท.
64. ผลการสำรวจข้อมูลภาคสนาม เพื่อจัดทำแผนที่แม่บทเพื่อจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
  1. การสำรวจข้อมูลภาคสนาม หมายถึง อปท. จะต้องออกสำรวจรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ของประชาชนในพื้นที่ โดยข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินจะบันทึกลงในแบบ ผ.ท.1 ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างจะบันทึกลงในแบบ ผ.ท.2 ข้อมูลเกี่ยวกับป้ายและการประกอบการค้าจะบันทึกลงในแบบ ผ.ท.3
2. การตรวจสอบว่า อปท. มีจำนวนแปลงที่ดินจากข้อมูลแผนที่แม่บท แต่ละแผนตามโครงการจัดทำแผนที่ภาษีฯ ของแต่ละ อปท.
3. ให้ตรวจสอบว่า อปท. ได้มีการสำรวจข้อมูลภาคสนามได้เป็นร้อยละเท่าไรของจำนวนแปลงที่ดินทั้งหมดตามข้อ 2
65. การนำทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) และทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5) ไปใช้เป็นข้อมูลในการประเมินภาษี
  1. ให้ตรวจสอบว่า ภ.ร.ด.2, ภ.บ.ท.5 และ ภ.ป.1 มีการประทับตราข้อความว่าได้ตรวจสอบกับ ผ.ท.4 และ ผ.ท.5 หรือไม่
2. ให้ตรวจสอบว่า ผ.ท. 5 ของผู้อยู่ในข่ายต้องชำระภาษีว่าได้มีการบันทึกข้อมูลการชำระภาษี (รับยื่นแบบประเมิน และชำระภาษี) และ ได้มีการติดสลิปสีเขียวหรือไม่
66. การปรับข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) ให้เป็นปัจจุบัน
  1. ให้ตรวจสอบจากแบบบัญชีแสดงรายการปรับข้อมูล (ผ.ท.13) จากผู้ที่รับผิดชอบจากหน่วยงานคลัง และผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อรับทราบ
2. ให้ตรวจสอบจากทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) ว่ามีการปรับปรุงข้อมูลตามแบบ ผ.ท.13 ตามข้อ 1 หรือไม่ (ข้อสังเกต) หากมีการปรับข้อมูลในทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) จะมีข้อมูลการปรับปรุง ดังนี้
2.1 มีรหัสแปลงที่ดินรหัสใหม่ขึ้นมา เช่น รหัสที่ดินเดิมเป็น 01A001 หากมีการปรับปรุงข้อมูลจะมีรหัสแปลงเพิ่มขึ้นมาเป็น 01A001/001 เป็นต้น
2.2 จะมีการขีดฆ่าข้อความเดิมด้วยปากกา สีแดงและเขียนข้อความใหม่
67. การปรับข้อมูลแผนที่ภาษี (ผ.ท.7) ให้เป็นปัจจุบัน
  1. ให้ตรวจสอบจากแบบบัญชีแสดงรายการปรับข้อมูล (ผ.ท.13) จากผู้ที่รับผิดชอบจาก ฝ่ายช่าง และผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อรับทราบ
2. ให้ตรวจสอบจากแผนที่ภาษี (ผ.ท.7) ว่า มีการปรับปรุงข้อมูลตามแบบรายงาน ผ.ท.13 ตามข้อ 1 หรือไม่
68. อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่
  ตรวจสอบจากทะเบียนคุมผู้ที่ได้ชำระภาษี 3 เรื่อง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้ายในปีงบประมาณ 2561 และ 2562 แล้วนำมาคำนวณเปรียบเทียบประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
69. อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เสียภาษีค่าธรรมเนียมและใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
  ตรวจสอบจากทะเบียนคุมผู้ชำระภาษีโดยนับจำนวนผู้ที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ในปี 2561 และ 2562 แล้วนำมาคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
70. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลูกหนี้ผู้ค้างชำระภาษีเกินกว่า 3 ปี เป็นอัตราร้อยละของผู้ชำระภาษีปีปัจจุบัน
  ตรวจสอบจากรายละเอียดลูกหนี้ผู้ค้างชำระเกิน 3 ปี เทียบกับรายละเอียดผู้ชำระภาษี (กค.1) หรือทะเบียนลูกหนี้ผู้ชำระภาษี
71. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีลูกหนี้ผู้ค้างชำระภาษีลดลงจากปีที่ผ่านมาเป็นอัตรา ร้อยละ
  ตรวจสอบจากทะเบียนลูกหนี้ผู้ชำระภาษีเกี่ยวกับรายละเอียดลูกหนี้ผู้ค้างชำระปี 2561 กับปี 2562
72. การเพิ่มขึ้นโดยรวมของจำนวนเงินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ของเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล
  รายรับจริงประกอบงบทดลอง ประจำปีงบประมาณ 2562 ของภาษี 3 เรื่อง (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย) แล้วนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
73. การเพิ่มขึ้นโดยรวมของจำนวนเงิน ค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
  รายรับจริงประกอบงบทดลอง ประจำปีงบประมาณ 2561 และ 2562 ของค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 แล้วนำมาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบ ประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)
     
                
สถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เริ่ม 1 กรกฏาคม 2560